
บริการตรวจสอบอาคาร (Building Inspection ) อาคารสูง โรงแรม อาคารชุด ตึกสูง คอนโดมิเนียม โรงงาน ป้ายโฆษณา และอื่นๆ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (เลขที่ทะเบียนผู้ตรวจสอบ 0764/2550 )
จากการจออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรม หรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี เพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคาร และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้อาคาร
ด้วยเหตุผลดังกล่าว อาคารที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องทำการตรวจสอบจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง
ประเภทอาคาร (กฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๘)
ข้อ ๑ อาคารประเภทดังต่อไปนี้ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้าน สถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี
- (๑) โรงมหรสพ
- (๒) โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ แปดสิบห้องขึ้นไป
- (๓) สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มี พื้นที่ตั้งแต่สองร้อยตารางเมตร ขึ้นไป
- (๔)
อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มี พื้นที่ตั้งแต่สองพัน ตารางเมตรขึ้นไป
- (๕) อาคารโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มี ความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมี พื้นที่ใช้สอย ตั้งแต่ห้าพันตารางเมตรขึ้นไป
- (๖) ป้าย หรือ สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป หรือ มีพื้นที่ตั้งแต่ห้าสิบตารางเมตรขึ้นไป หรือ ป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ยี่สิบห้าตารางเมตรขึ้นไป
ข้อ ๒ ในการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารสำหรับอาคารตามข้อ ๑ (๔)
- อาคาร ที่มี พื้นที่ไม่เกินห้าพันตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร เป็นเวลาเจ็ดปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
- อาคาร ที่มีพื้นที่เกินห้าพันตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร เป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
ประโยชน์ที่เจ้าของอาคารจะได้รับจากการดำเนินการตรวจสอบอาคารสามารถแบ่ง ออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
- มีการอัพเดทข้อมูลอาคารให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ซึ่งจะสะดวกต่อการดูแล รักษา หรือซ่อมแซมอาคาร และอุปกรณ์ประกอบอาคาร
- ผู้ใช้อาคารมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งสามารถลด ความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ใน กรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
- การดูแลรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องสามารถ ยืดอายุการใช้งานของอาคาร และอุปกรณ์ประกอบอาคารให้ยาวนานขึ้น
- อาคารที่ได้รับการตรวจสอบตามมาตราฐานสามารถแสดงหลักฐานต่อ บริษัท ประกันภัย เพื่อขอลดหย่อนเบี้ยประกันภัยลงได้
- ในกรณีที่มีการใช้อาคารเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน อาคารที่มี ระบบการตรวจสอบและดูแลรักษาได้มาตราฐาน ย่อมมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าอาคารที่ ไม่มีการตรวจสอบ

โดยทีมวิศวกรไฟฟ้ามืออาชีพ ระดับสามัญวิศวกร สาขาไฟฟ้ากำลัง (เลขทะเบียน สฟก. 2685)
ตั้งแต่ปี พ.ศ 2543 และมีผลงานการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานมาโดยต่อเนื่อง
รายละเอียดการตรวจสอบ รับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าประจำปี
1. ตรวจสอบจำหน่ายแรงสูง- อุปกรณ์ประกรอบแรงสูง
- หม้อแปลงไฟฟ้า
- การต่อลงดิน ( ตรวจเช็คค่าความต้านทานดิน)
2. ตรวจสอบตู้ MDB และตู้ Capacitor Bank
- ตรวจเช็คค่ากระแสแรงดัน ความถี่ ค่า Power factor
- ตรวจเช็คอุณภูมิขั้วต่อสาย
- ตรวจเช็คขนาดสายไฟฟ้า
- ตรวจสอบการต่อลงดิน
3. ตรวจสอบแผงวงจรย่อย
- ตรวจสอบขนาดสายไฟฟ้า
- ตรวจสอบอุปกรณ์ในตู้ MDB ย่อย
- ตรวจสอบตู้ Control ต่าง ๆ
- ตรวจสอบการต่อลงดิน
4. ตรวจสอบค่าความต้านทานดิน ระบบป้องกันฟ้าผ่า
5. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายในโรงงาน
6. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า เพื่อทดสอบการเข้าขั้วสายเฟส นิวทรัลและกราวด์
7. ตรวจสอบการรั่วของกระแสไฟฟ้า
8. ตรวจสอบความสะอาดและการบำรุงรักษา
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด
1. เครื่องตรวจวัดอุณภูมิ อุปกรณ์ และจุดต่อสายต่าง ๆ ด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน เทอร์โมอินฟาเรด (Thermo Scan)
2. เครื่องตรวจวัดความต้านทานดิน Earth Resistance Tester
3. เครื่องทดสอบการเข้าขั้วสายเฟส นิวทรัลและกราวด์
4. เครื่องวัดการรั่วของกระแสไฟฟ้า